เมนู

5. สุภากัมมารธิดาเถรีคาถา


[471] พระสุภากัมมารธิดาเถรี ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
เพราะเหตุที่แต่ก่อน ข้าพเจ้ายังสาว นุ่งห่มผ้า
อันสะอาด ได้ฟังธรรม ข้าพเจ้านั้นไม่ประมาท ก็ได้
ตรัสรู้สัจธรรม ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ยินดีอย่างยิ่งใน
กามทั้งปวง เห็นภัยในสักกายะ [ปัญจขันธ์]
กระหยิ่มเฉพาะ เนกขัมมะ [การบวช] เท่านั้น.
ข้าพเจ้าละหมู่ญาติ ทาสและกรรมกร บ้าน
และไร่นา ความมั่งคั่ง และรมณียะสิ่งที่น่ารื่นรมย์ ที่
เขาบันเทิงกันนักหนา.
ข้าพเจ้าละสมบัติไม่ใช่น้อย ออกบวชด้วย
ศรัทธาอย่างนี้ในพระสัทธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรง
ประกาศดีแล้ว.
ข้อที่ละทิ้งเงินทองเสียแล้ว กลับมายึดเงินทอง
นั้นอีก ไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้า
ปรารถนาแต่ความไม่กังวลห่วงใย ผู้ใดละทิ้งเงินทอง
แล้วกลับมายึดเงินทองนั้นไว้อีก ผู้นั้นจะโงหัวขึ้นมา
ได้อย่างไร ในระหว่างบัณฑิตทั้งหลายเงินและทองไม่มี
เพื่อสันติความสงบสำหรับผู้นั้น เงินทองนั้นก็ไม่สม-
ควรแก่สมณะ เงินทองนั้น ก็มิใช่อริยทรัพย์.

อนึ่ง เงินทองนี้ ทำให้เกิดความโลภ ความ
มัวเมา ความลุ่มหลง ความติดดังเครื่องผูก มีภัย มี
ความคับแค้นมาก เงินทองนั้นไม่ตั้งอยู่ยั่งยืนเลย.
นรชนเป็นอันมาก ประมาทมีใจเศร้าหมองแล้ว
เพราะเงินทองเท่านี้ จึงต้องเป็นศัตรู วิวาทบาดหมาง
กันและกัน.
การถูกฆ่า การถูกจองจำ การต้องโทษมีตัดมือ
เป็นต้น ความเสื่อมเสีย ความเศร้าโศกพิไรรำพัน
ความพินาศเป็นอันมาก ของนรชนที่ตกอยู่ในกาม
ทั้งหลาย ก็มองเห็นกันอยู่.
ท่านทั้งหลายเป็นญาติก็เหมือนศัตรู เพราะเหตุ
ไรท่านทั้งหลายจึงชักจูงประกอบเรานั้นไว้ในกามทั้ง-
หลาย จงรู้กันเถิดว่าเราเห็นภัยในกามทั้งหลายจึงบวช.
อาสวะทั้งหลาย ไม่ใช่หมดสิ้นไปเพราะเงินทอง
ดอกนะ กามทั้งหลายเป็นอมิตร เป็นผู้ฆ่า เป็นศัตรู
เป็นดั่งลูกศรเสียบไว้.
ท่านทั้งหลายเป็นญาติ ก็เหมือนศัตรูเพราะเหตุไร
จึงชักจูงประกอบเรานั้นไว้ในกามทั้งหลาย จงรู้เถิดว่า
เราบวชศีรษะโล้นครองผ้าสังฆาฏิแล้ว.
ก่อนข้าวที่ต้องไปยืนที่เรือนทุก ๆ หลัง ได้มา
การเที่ยวขอเขา ผ้าบังสุกุลจีวร และบริขารที่อาศัย
ของนักบวชผู้ไม่มีเรือน นี่แลเป็นของเหมาะสำหรับ
เรา.

กามทั้งหลาย ทั้งที่เป็นของทิพย์และมนุษย์
เหล่าท่านผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ตายเสียแล้ว ท่านน้อม
ไปในสถานที่อันเกษม บรรลุสุขอันไม่หวั่นไหวแล้ว.
ข้าพเจ้าไม่ร่วมด้วยกามทั้งหลาย ซึ่งช่วยอะไร
ไม่ได้ กามทั้งหลาย เป็นอมิตร เป็นผู้ฆ่า นำทุกข์
มา เทียบเสมอด้วยกองไฟ.
สภาวะนั่นไม่บริสุทธิ์ มีภัย มีความคับแค้น
เป็นเสี้ยนหนาม และสภาวะนั้น เป็นความหมกมุ่น
เป็นความไม่สม่ำเสมอ อย่างใหญ่ เป็นเหตุลุ่มหลง
เป็นอุปสรรคที่น่าสะพรึงกลัว กามทั้งหลายเปรียบด้วย
หัวงูพิษ ที่เหล่าปุถุชนคนทั้งบอดทั้งเขลา เพลิดเพลิน
กันนักหนา.
ความจริง ชนเป็นอันมากในโลก ติดอยู่ใน
เครื่องข้องคือกาม ไม่รู้ความจริงกันเลย ไม่รู้จักที่สิ้น
สุดแห่งชาติและชรา มนุษย์เป็นอันมาก เดินทางที่ไป
ทุคติ มีกามเป็นเหตุ นำมาแต่โรคสำหรับตน.
กามทั้งหลาย ทำให้เกิดอมิตรอย่างนี้เป็นเครื่อง
แผดเผา เป็นเครื่องเศร้าหมอง เป็นเหยื่อของโลก ผูก
สัตว์ไว้ มีมรณะเป็นเครื่องพันธนาการ.
กามทั้งหลาย ทำให้คนบ้า ทำให้เพ้อ ทำให้จิต
ประมาทพลั้งเผลอ เพราะทำสัตว์ให้เศร้าหมอง พึง
เห็นเหมือนลอบที่มารรีบดักไว้.

กามทั้งหลาย มีโทษไม่สิ้นสุด มีทุกข์มาก มี
พิษมาก อร่อยน้อย ทำเป็นสนามรบ มีแต่ทำกุศล
กรรมให้เหือดแห้งลง.
ข้าพระองค์นั้น ละความย่อยยับ ซึ่งมีกามเป็น
เหตุเช่นนั้นแล้ว ยินดียิ่งนักในพระนิพพานทุกเมื่อ
จึงจักไม่กลับมาหาความย่อยยับนั้นอีก.
ข้าพเจ้าละสนามรบของกามทั้งหลายแล้ว จำนง
หวังแต่ความเยือกเย็น ยินดีในธรรมอันเป็นที่สิ้น
สังโยชน์ ไม่ประมาทอยู่.
ข้าพเจ้าเดินตามทางอริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งเป็น
ทางตรงไม่เศร้าโศก ไม่มีกิเลสดุจธุลี เป็นทางเกษม
ซึ่งเหล่าท่านผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่พากันข้ามมาแล้ว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ท่านทั้งหลาย จงดู
ธิดาช่างทอง ผู้สวยงามซึ่งตั้งอยู่ในธรรมผู้นี้เถิด นาง
เข้าถึงธรรมที่ไม่หวั่นไหว เข้าฌานอยู่ที่โคนไม้.
วันนี้เป็นวันที่ 8 นางมีศรัทธาบวชแล้ว เป็นผู้
งามในพระสัทธรรม อันพระอุบลวรรณาช่วยแนะนำ
แล้ว ทรงวิชชา 3 ละมฤตยูเสียแล้ว.
ภิกษุณีรูปนั้น เป็นไทแก่ตัว ไม่เป็นหนี้ อบรม
อินทรีย์แล้ว สลัดโยคะได้หมดแล้ว ทำกิจเสร็จแล้ว
ไม่มีอาสวะ.
ท้าวสักกะ เจ้าแห่งหมู่สัตว์ พร้อมหมู่เทพ
เสด็จเข้าไปหาพระสุภากัมมารธิดาเถรีรูปนั้น ด้วย
เทวฤทธิ์แล้ว ทรงนมัสการอยู่.

จบ สุภากัมมารธิดาเถรีคาถา

5. อรรถกถาสุภากัมมาร1ธีตุเถรีคาถา


คาถาว่า ทหราหํ เป็นต้น เป็นคาถาของ พระสุภากัมมารธีตุ-
เถรี.

พระเถรีแม้รูปนี้ ก็ได้บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ
สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้นๆ อบรมกุศลมล
สั่งสมสัมภารธรรมเครื่องปรุงแต่งวิโมกข์มาโดยลำดับ ท่องเที่ยวอยู่ในป่ายสุคติ
เท่านั้น เมื่อญาณแก่กล้า มาในพุทธุปบาทกาลนี้ก็บังเกิดเป็นธิดาของช่างทอง
คนหนึ่งในกรุงราชคฤห์ เพราะความสวยงามแห่งรูปสมบัติ จึงได้ชื่อว่า สุภา นาง
รู้เดียงสามาโดยลำดับ เกิดความเลื่อมใสในพระศาสดา เมื่อพระศาสดาเสด็จเจ้า
ไปกรุงราชคฤห์ วันหนึ่งจึงเข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง
พระศาสดาทรงเห็นนางมีอินทรีย์แก่กล้าจึงทรงแสดงธรรมคือ อริยสัจ 4 ที่พอ
เหมาะแก่อัธยาศัย ทันใดนั้นเอง นางก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลประดับด้วยนัยพัน-
นัย ต่อมา นางเห็นโทษในฆราวาสวิสัย ก็บวชในสำนักพระนางปชาบดี
โคตมี ตั้งอยู่ในศีลภิกษุณี ประกอบเนืองๆ ซึ่งภาวนา เพื่อมรรคชั้นสูง ๆ
พวกญาติพากันเข้าไปหานางทุกเวลา เชื้อเชิญแสดงทรัพย์จำนวนมาก และ
กองสมบัติประเล้าประโลมด้วยกามทั้งหลาย วันหนึ่งเมื่อพวกญาติเข้ามาหา
นางเมื่อจะประกาศโทษในฆราวาสวิสัยและกามทั้งหลาย จึงกล่าวธรรมด้วยคาถา
24 คาถา มีว่า ทหราหํ เป็นต้น แล้วเสียสละทำให้ญาติเหล่านั้นหมดหวัง
เจริญวิปัสสนา ประกอบอินทรีย์ทั้งหลาย มักเขม้นภาวนายิ่งขึ้น ไม่ช้านัก
ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา 4 ก็แลครั้นบรรลุพระอรหัตแล้วจึง
ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
1. บาลีเป็นสุภากัมมารธิดาเถรีคาถา